สาระน่ารู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน

4

  ในฐานะที่เราเองเกิดมาเป็นคนไทย อาศัยอยู่ในประเทศไทย ซึ่งประเทศไทยเองก็จัดว่าเป็นหนึ่งประเทศที่อยู่ในกลุ่มทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน ทว่าในปัจจุบันนั้นกลุ่มประเทศอาเซียนได้มีการรวมตัวกันเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับกลุ่มประเทศของตัวเองมากขึ้นนี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้เกิด “ประชาคมอาเซียน” หรือ AEC ลองมาทำความรู้จักและเรียนรู้สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ AEC ว่ามีอะไรบ้าง

การก้าวสู่ AEC ของกลุ่มอาเซียน

a

ในอดีตนั้นกลุ่มทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งมีหัวเรี่ยวหัวแรงคือประเทศไทย, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ก่อนที่อีก 5 ประเทศอย่าง ลาว, กัมพูชา, เมียนม่าร์, เวียดนาม และบรูไน จะมาเข้าร่วมด้วย แต่ด้วยเมื่อมีการรวมตัวกันก็มีการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านดีและด้านไม่ดีผสมผสานกันไปทำให้แต่ละประเทศมีแนวคิดว่าน่าจะมีการรวมตัวกันให้เป็นกลุ่มประเทศที่ใหญ่เพื่อจะได้มีพลังในการผลักดันเศรษฐกิจ, การเมือง, การท่องเที่ยว และอื่นๆ ให้ก้าวไปข้างหน้ามากขึ้น รวมถึงพยายามลดสิ่งไม่ดีที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นยาเสพติด, โรคระบาด, การก่อการร้าย, ภัยพิบัติ และอื่นๆ ให้หายไปจากกลุ่มอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558 จึงได้มีการเข้าร่วมกลุ่มประชาคมอาเซียนขึ้นอย่างเต็มตัว

สัญลักษณ์ของอาเซียน

asd

สัญลักษณ์ของอาเซียนจะเป็นในลักษณะของการส่งเสริมอัตลักษณ์เพื่อแสดงให้เห็นถึงสิ่งต่างๆ เกี่ยวกับอาเซียน มีความประสงค์ต้องการให้บรรลุเป้าหมายและสร้างคุณค่าร่วมกันของกลุ่มอาเซียน โดยสัญลักษณ์จะเป็นพื้นหลังสีแดงล้อมรอบจากด้านนอกด้วยกรอบสีน้ำเงินและสีขาว ตรงกลางเป็นมัดรวงข้าวสีเหลือง 10 เส้น ใต้มัดดังกล่าวมีอักษร asean สีน้ำเงินวางอยู่ โดยมีความหมายดังต่อไปนี้

  • รวงข้าวสีเหลืองที่มัดรวมกัน 10 เส้น หมายถึง ความใฝ่ฝันสำหรับกลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ เพื่อต้องการให้เกิดความผูกพันและมีมิตรภาพต่อกัน
  • ตัวอักษร asean สีน้ำเงิน หมายถึง ความมุ่งมั่นในการต้องการทำงานร่วมกันเพื่อสร้างความมั่นคง เอกภาพ และความก้าวหน้าของประเทศในอาเซียน
  • พื้นหลังสีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความเจริญก้าวหน้า
  • วงกลมสีขาว หมายถึง ความสะอาดบริสุทธิ์
  • วงกลมสีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง

อาชีพที่ได้รับความนิยมในกลุ่มประชาคมอาเซียน

1

ส่วนใหญ่แล้วอาชีพที่ได้รับความนิยมในกลุ่มประชาคมอาเซียนยังคงเป็นอาชีพพื้นฐานที่เรามักจะเห็นอยู่โดยทั่วไป ประกอบไปด้วย แพทย์, พยาบาล, ทันตแพทย์, วิศวกร, นักบัญชี, สถาปนิก และ นักสำรวจ แต่สิ่งที่สังเกตได้อีกอย่างก็คือภาษาอังกฤษเข้ามามีความสำคัญอย่างมากหลังจากเปิดประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศไทยที่ต้องมีการพัฒนาด้านภาษาอังกฤษอย่างต่อเนื่องต่อไป