การประชุม อาเซียนซัมมิท คืออะไร และส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง

อาเซียนซัมมิท
รอบรู้การประชุม อาเซียนซัมมิท

การประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) เป็นการประชุมที่จัดขึ้นทุกๆ สองปีต่อครั้ง จัดขึ้นโดยสมาชิกของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือสมาชิกกลุ่มอาเซียน หัวข้อการประชุมเกี่ยวข้องกับการหาลือด้านเศรษฐกิจ การเมือง ความมั่นคง การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นการประชุมระดับภูมิภาคเอเชีย และการประชุมระดับนานาชาติทั่วโลก ที่มีผู้นำระดับโลกเข้าร่วมการประชุมสุดยอด พร้อมประชุมที่เกี่ยวข้องเพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ โดยการประชุมสุดยอดอาเซียนนี้ ถือเป็นงานที่ได้รับการยกย่องจากผู้นำระดับโลกมากที่สุด เพราะประสบความสำเร็จในการสร้างผลลัพธ์และความสัมพันธ์ในระดับโลก

ประวัติงานประชุมอาเซียนซัมมิท

อาเซียนซัมมิท
นายก ประชุม อาเซียนซัมมิท

การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 1 จัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2519 ที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ในการประชุมสุดยอดครั้งนี้อาเซียนแสดงความพร้อมที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ที่ความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ร่วมกันกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค โดยในงานนี้ได้มีผู้นำอาเซียนได้ลงนามในสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia)

ในงานประชุมครั้งที่ 2 จัดขึ้นที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ประเทศมาเลเซียในเดือนสิงหาคม 2520 เป็นครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่นได้เข้าร่วมประชุมด้วยในครั้งนี้ โดยญี่ปุ่นแสดงความตั้งใจที่จะส่งเสริมความร่วมมือกับอาเซียน ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 9 จัดขึ้นในเดือนตุลาคม 2546 ที่บาหลี อินโดนีเซีย ผู้นำของประเทศสมาชิกได้ลงนามในแถลงการณ์ที่รู้จักกันในชื่อ “Bali Concord II” ซึ่งเป็นการตกลงที่จะติดตามการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดภายในปี 2563

ประชาคมอาเซียนยึดมั่นในหลักการทั้ง 3 คือ ความร่วมมือทางการเมืองและความมั่นคง  ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ความร่วมมือทางสังคม เพื่อจุดประสงค์ในการสร้างความสงบสุขที่ยั่งยืน ความมั่นคง และความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันในภูมิภาค ด้วยการจัดตั้งนอกจากนี้จะมีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีขึ้นในภูมิภาคภายในปี 2563 ผู้นำของอาเซียนยังได้หารือถึงการจัดตั้งประชาคมความมั่นคงควบคู่ไปกับเขตเศรษฐกิจแม้ว่าจะไม่มีพันธมิตรทางทหารอย่างเป็นทางการ

ในระหว่างการประชุมเดียวกันจีนกับอาเซียนก็ตกลงที่จะทำงานร่วมกันเร็วขึ้น เพื่อบรรลุข้อตกลงการค้าร่วมซึ่งจะสร้างตลาดที่มีประชากรมากที่สุดในโลกด้วยผู้บริโภค 1.7 พันล้านคน ญี่ปุ่นยังได้ลงนามในข้อตกลงว่าด้วยการลดภาษีและสินค้าปลอดภาษีกับสมาชิกอาเซียน ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 11 เมื่อเดือนธันวาคม 2548 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซียมีการหารือประเด็นสำคัญหลายเรื่อง ได้แก่ การแพร่กระจายของโรคไข้หวัดนก การจลาจลทางภาคใต้ของประเทศไทย ประชาธิปไตยในพม่า ความผันผวนของราคาน้ำมันดิบ ความยากจนของประชาชน กฎบัตรอาเซียน

ทันทีหลังจากการประชุมสุดยอดสิ้นสุดลง การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit) ครั้งแรกก็ถูกจัดขึ้นทันที ในประเทศมาเลเซีย เป็นเวทีระดับภูมิภาคที่จัดขึ้นทุกปีโดยผู้นำของ 16 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฯลฯ รวมถึงรัสเซีย กับ สหรัฐอเมริกา โดยในวันที่ 4 พฤศจิกายนนี้เองไทยก็เป็นเจ้าภาพในงานประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ซึ่งจะจัดขึ้นในกรุงเทพมหานคร

ประเทศที่เข้าร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน

การประชุมสุดยอดอาเซียนจะเป็นการชุมนุมของผู้นำประเทศ ซึ่งในแต่ละปีจะมีการหมุนเวียนตำแหน่งประธานอาเซียนเรียงตามลำดับตัวอักษร ของชื่อภาษาอังกฤษของรัฐสมาชิกอาเซียน โดยประจำปี 2019 ตำแหน่งประธานของอาเซียนคือประเทศไทย โดยมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นผู้ดำรงตำแหน่ง สำหรับสมาชิก 10 ประเทศที่เคยได้เข้าร่วมงานประชุมสุดยอดอาเซียนที่ผ่านมาได้แก่

1.อินโดนีเซีย (Indonesia)

2.มาเลเซีย (Malaysia)

3.ฟิลิปปินส์ (Philippines)

4.สิงคโปร์ (Singapore)

5.ไทย (Thailand)

6.เวียตนาม (Vietnam)

7.บรูไน (Brunei)

8.กัมพูชา (Cambodia)

9.ลาว (Laos)

10.พม่า (Myanmar)