อาเซียน (ASEAN) นั้นเกิดจากการรวมตัวกันของ 10 ประเทศ ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้นำอาเซียนของประเทศต่างๆ ได้มีการร่วมลงนามในปฏิญญาซึ่งได้ให้ความร่วมมือกันรวมถึงมีการเห็นชอบ ให้มีการจัดตั้งประชาคมอาเซียน หรือASEAN Community ขึ้นมา ซึ่งถือได้ว่าเป็น องค์กรระหว่างประเทศ ในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นั้นเอง
มีจุดเริ่มต้นก่อตั้งขึ้นโดย ประเทศไทย ประเทศมาเลเซีย ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งได้ร่วมกันจัดตั้งสมาคมอาสา เมื่อเดือน กรกฎาคม ในปี 2504 เพื่อการร่วมมือกันทางด้านของเศรษฐกิจ ด้านสังคม และรวมไปถึงด้านของวัฒนธรรม ต่างๆ แต่มีการดำเนินการไปได้เพียงแค่ 2 ปีเท่านั้น ก็ต้องมีการหยุดชะงักลงกลางคันเสียก่อน เนื่องจากว่ามีความผกผันทางการเมืองของประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย แต่เมื่อได้มีการฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตของระหว่างสองประเทศนี้แล้ว เลยได้มีการแสวงหาหนทางในการร่วมมือกันให้กลับขึ้นมาอีกครั้ง และก็สามารถที่จะทำสำเร็จได้ในปี 2563 นั้นเอง แต่ต่อมาได้ตกลงที่จะมีการร่นระยะเวลา จัดตั้งให้แล้วเสร็จในปี 2558 ซึ่งในปีนั้นเองก็จะมีการเปิดกว้างให้ประชาชนในแต่ละประเทศนั้น สามารถเข้าไปทำงานในประเทศในประชาคมอาเซียนได้อย่างเสรีเลย เสมือนกับว่าเป็นประเทศเดียวกันเกื้อกูลกัน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้จะมีผลกระทบต่อการประกอบอาชีพและการมีงานทำของคนไทย
ความเป็นมาของอาเซียน
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชื่อภาษาอังกฤษคือ Association of Southeast Asian Nations หรือที่มีการเรียกกันโดยย่อว่า ASEAN ก่อตั้งกันโดยการปฏิญญาอาเซียนในกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ในปี 2510 โดยแต่เดิมนั้นมีประเทศสมาชิกเพียง 5 ประเทศด้วยกัน ซึ่งประกอบด้วย ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศมาเลเซีย ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศสิงคโปร์ และประเทศไทยของเรา เพื่อที่จะทำการส่งเสริมความร่วมมือทางด้านของการเมือง รวมไปถึงในด้านของเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย แต่ต่อมานั้นก็ได้มีประเทศสมาชิกเพิ่มเติมขึ้นมาได้แก่ ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม ประเทศเวียดนาม ประเทศลาว ประเทศพม่า และประเทศกัมพูชา ตามลำดับ ทำให้ปัจจุบันนี้อาเซียนของเราก็มีทั้งหมด 10 ประเทศด้วยกัน
ประชาคมอาเซียนคือ?
การรวมตัวของสมาชิกกลุ่มอาเซียนให้เป็นชุมชนที่มีความแข็งแกร่ง สามารถสร้างโอกาสและรับทอดความท้าทาย ทางด้านการเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ และภัยคุกคามใบรูปแบบต่างๆ โดยสมาชิกในชุมชนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี สามารถประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น และสมาชิก ในชุมชนมีความรู้สึกเป็นหนึ่งอันเดียวกัน
จุดประสงค์ที่เกิดขึ้นหลักของอาเซียน คือ
การปฏิญญากรุงเทพมหานคร นั้นได้มีการระบุวัตถุประสงค์ที่สำคัญขึ้นมาถึง 7 ประการของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่
1.การส่งเสริมความร่วมมือและการให้ความช่วยเหลือ ซึ่งกันและในอาเซียน ทั้งในด้านของเศรษฐกิจ ในด้านของสังคม ในด้านของวัฒนธรรม ในด้านเทคโนโลยีต่างๆทั้งในปัจจุบันและอนาคต ในด้านของวิทยาศาสตร์ และยังรวมไปถึงในด้านของการบริหารต่างๆในประเทศสมาชิก
2.การช่วยกันส่งเสริมสันติภาพรวมไปถึงความมั่นคงของภูมิภาค
3.การที่จะช่วยกันสร้างความเจริญรุ่งเรืองในทางเศรษฐกิจและรวมไปถึงการที่จะพัฒนาวัฒนธรรมทางภูมิภาค
4.การที่จะช่วยกันส่งเสริมให้เพื่อให้สมาชิกอาเซียนนั้นมีความเป็นอยู่รวมไปถึงคุณภาพชีวิตที่ดีมากยิ่งขึ้น
5.การที่จะให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปแบบของการฝึกอบรมและการวิจัยต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น และส่งเสริมในด้านของการศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
6.การเพิ่มประสิทธิภาพของเกษตรและอุตสาหกรรมในแต่ละประเทศสมาชิก เพิ่มประสิทธิภาพใน การค้าขาย ต่างๆ ตลอดไปจนถึงในเรื่องปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ
7.การที่จะเสริมสร้างความร่วมมือของอาเซียนเองและประเทศภายนอกต่างๆด้วย รวมไปถึง องค์กรความร่วมมือแห่งภูมิภาคต่างๆ และองค์กรระหว่างประเทศ
ประโยชน์ที่ประเทศไทยได้จาก AEC (ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน)
1.ประเทศไทยจะมีหน้ามีตา มีฐานะเด่นขึ้นเพราะประชาคมอาเซียนทำให้เศรษฐกิจของเรามีมูลค่ารวมกันถึง 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 9 ของโลก และมีประโยชน์แก่คนไทยทุกคนที่จะยืนอย่างสง่างาม ยิ้มสยาม จะคมชัดมากขึ้น
2.การค้าระหว่างประเทศไทยกับสมาชิกอาเซียนจะมีความคลองขึ้นและขยายตัวอย่างรวดเร็วมากขึ้น กำแพงภาษีจะลดลงจนเกือบที่จะหมดไป เพราะว่า 10 ตลาดจะกลายเป็นตลาดเดียวผู้ผลิตสินค้าจะผลิตสินค้าไปขายในตลาดนี้และสามารถขยับขยายธุรกิจของตัวเองได้มากขึ้น และผู้บริโภคก็มีตัวเลือกหลายทางมากขึ้นแต่ของถูกลง
3.ตลาดของเราจะใหญ่ขึ้น แทนที่จะเป็นตลาดของ 67 ล้านคน แต่จะกลายเป็นตลาดของ 590 ล้านคน ซึ่งทำให้ไทยนั้นกลายเป็นหนึ่งในแหล่งลงทุนที่น่าสนใจ เพราะสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย สามารถส่งออกไปยังประเทศได้ราวกับส่งไปขายเหมือนต่างจังหวัดซึ่งจะช่วยให้เราขายสินค้าแข่งกับ จีน และอินเดีย และการดึงดูดการลงทุนได้มากขึ้น
4.ความเป็นประชาคมจะทำให้มีการพัฒนาเครือข่ายการสื่อสารการคมนาคม ระหว่างกันเพื่อประโยชน์ด้านการค้าและการลงทุน แต่ก็วนผลพลอยได้มาสู่กันได้อีกด้วย ซึ่งจะช่วยให้คนในอาเซียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดี ได้รู้จักกัน และสนิทแน่นแฟ้นมากขึ้น เป็นผลดีต่อสันติสุขความเข้าใจอันดีและความร่วมมือกันโดยรวม
5.โดยประเทศไทยนั้นตั้งอยู่ใจกลางของอาเซียนทั้งหมด ประเทศไทยย่อมได้รับผลประโยชน์จากปริมาณการคมนาคมขนส่งที่จะเพิ่มขึ้น ในอาเซียนและนอกอาเซียนกับจีน และอินเดีย มากยิ่งกว่าประเทศอื่นๆ บริษัทด้านขนส่ง คลังสินค้า ปั๊มน้ำมัน ฯลฯ จะได้รับผลประโยชน์อย่างชัดเจน