บทบาทความร่วมมือกันของประเทศสมาชิก AEC

ยุคนี้ไม่ว่าจะหันหน้าไปทางไหนเชื่อว่าทุกท่านก็คงจะได้ยินได้ฟังได้เห็นคำว่า AEC จากทุกทิศทุกทาง ไม่ว่าจะเป็นจากทางด้านสื่อต่าง ๆ แม้แต่เด็กนักเรียนที่โรงเรียนกลับมาบ้านก็ยังท่องกันจ๋อย ๆ แล้วคุณรู้กันหรือยังล่ะว่า AEC คืออะไร วันนี้ เราจะพาไปรู้จัก AEC ให้มากขึ้นกัน

               AEC ย่อมากจาก ASEAN Economic Community แปลเป็นไทยได้ว่า ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีความเป็นมาจากการรวมตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในอาเซียน 10 ประเทศ อันได้แก่ ไทย ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เพื่อมีจุดประสงค์ให้กลุ่มประเทศเหล่านี้นั้นมีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและด้านต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น โดยก่อตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2015 และในอนาคตนั้นมีเป้าหมายที่จุดขยายกลุ่มประเทศสมาชิกเพิ่มขึ้นเพื่อความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ที่เรียกว่า อาเซียน+3 โดยจะมีอีกสามประเทศมาเพิ่ม อันได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้ และมีเป้าหมายมากกว่านั้นคือ อาเซียน+6 โดยจะเพิ่มอีกหกประเทศ อันได้แก่ ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เพื่อเพิ่มความก้าวหน้าทางด้านต่าง ๆ ในกลุ่มทวีปเอเชียให้มั่นคงยิ่งขึ้นนั่นเอง

            ข้อตกลงของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน

 

มีทั้งหมด 4 ข้อตกลงด้วยกัน ได้แก่

  1. มีฐานการผลิตและการตลาดที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวหรือร่วมกัน (Single Market and Production Base)
  2. เพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ (High Competitive Economic Region)
    3. มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน (Equitable Economic Development)
  3. ก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจโลกได้อย่างครบวงจร (Fully Integrated into Global Economy)

            ข้อสรุปสำหรับกรอบความร่วมมือ

 

  1. ทางด้านสินค้า จะมีการลดภาษีสินค้าที่เป็น Priority Sectors จนเป็น 0 เปอร์เซ็นต์
  2. ทางด้านบริการ จะเร่งเปิดเสรีทางด้านการบริการ ภายในปี 2010
  3. ทางด้านการลงทุน จะเร่งเปิดการลงทุนสำหรับสินค้าในรายการสงวนของทุกสมาชิกประเทศภายในปี 2015 และส่งเสริมทางด้านผลิตในประเทศอาเซียนให้มากขึ้น
  4. ทางด้านการค้า จะมีการอำนวยความสะดวกในการการค้ามากขึ้น เช่น การขนส่ง การท่องเที่ยว เป็นต้น
  5. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านอื่น ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อทุกประเทศ เช่น ทางด้านอุตสาหกรรม ทางด้านทรัพยาแรงงาน ทางด้านทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น

นอกจากนั้นยังมีการเปิดเสรีทั้งทางด้านการค้าและการบริการ มีการแบ่งสายงานการผลิตสินค้าตามความสามารถและทรัพยากรของแต่ละประเทศ เพื่อจะได้ไม่ต้องแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดกัน ทั้งหมด 11 สาขา โดยแบ่งให้แต่ละประเทศดังนี้

– ประเทศไทย สาขาการบินและสาขาการท่องเที่ยว

– ประเทศพม่า สาขาการประมงและสาขาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
– ประเทศอินโดนีเซีย สาขาผลิตภัณฑ์จากไม้และสาขาสินค้ายานยนต์

– ประเทศฟิลิปปินส์ สาขาสินค้าด้านอิเล็กทรอนิกส์

– ประเทศมาเลเซีย สาขาสินค้าจากสิ่งทอและสาขาสินค้าผลิตภัณฑ์จากยาง

– ประเทศสิงคโปร์ สาขาสินค้าสุขภาพและสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ

– ประเทศเวียดนาม สาขาการขนส่งโลจิสติกส์
โดยข้อตกลงทางเศรษฐกิจข้างต้นจะเอื้ออำนวยความสะดวกต่อการดำเนินธุรกิจของประเทศสมาชิกทุก ๆ ประเทศ

เพื่อความเจริญก้าวหน้าและพัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพ