
ประเทศไทยจะได้ประโยชน์อะไรจาก AEC หรือประชาคมเศรษฐกิจของอาเซียน
วันนี้เราจะมาพูดถึง ประโยชน์ที่เราได้รับจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกันโดยจะขอพูดถึงในส่วนของเศรษฐกิจกันเพียงอย่างเดียวก่อน เพราะสำหรับ AEC ในส่วนของความคิดผู้เขียนแล้วนั้นจะเน้นในด้านของเศรษฐกิจเป็นหลัก ต้องบอกก่อนว่าสำหรับ AEC นั้น ทำให้ประเทศไทยของเรา มีหน้ามีตาและฐานะมากยิ่งขึ้น หลังจากที่ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียน และยังทำให้เศรษฐกิจของเรามีมูลค่ารวมกันถึง 1.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐเลยทีเดียว และมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 9 ของโลก และ ด้วยการช่วยเหลือและพึ่งพาอาศัยกันในประชาคมทำให้ การค้าในระหว่างประเทศไทย และอีก 10 ประเทศในอาเซียนนั้น คล่องตัวรวมไปถึงขยายตัวมากยิ่งขึ้น กำแพงของภาษีนั้นเรียกได้ว่าลดลงจากเดิมไปมาก เพราะจากสิบตลาดนั้นได้รวมกันจนเป็นตลาดเดียว ผู้ผลิตจะสามารถส่งสินค้าไปขายในตลาดนี้ได้ง่ายดายขึ้นรวมถึงขยับขยายธุรกิจของตนได้ง่ายขึ้น ในทางกลับกันผู้บริโภคเองก็มีทางเลือกสำหรับการซื้อหาสินค้าที่มากขึ้นและถูกลง โดยที่ไทยที่ได้ตั้งอยู่บนกึ่งกลางภาคแผ่นดินใหญ่ของอาเซียนนั้น ประเทศไทยย่อมจะได้รับผลประโยชน์จากปริมาณการคมนาคมขนส่งที่เพิ่มขึ้นในอาเซียน และระหว่างอาเซียนกับจีนรวมไปถึงอินเดียอีกด้วย มากยิ่งกว่าในประเทศอื่นๆ ที่มีบริษัทในด้านขนส่ง คลังสินค้า หรือปั๊มน้ำมันต่าง ฯลฯ จะได้รับเป็นประโยชน์อย่างชัดเจน ตลาดของประเทศเรานั้นก็จะใหญ่ขึ้นเพราะ แทนที่จะเป็นตลาดของคนแค่เพียง 67 ล้านคน ก็กลายเป็น 590 ล้านคน ซึ่งทำให้ประเทศของเราได้กลายเป็นแหล่งลงทุนที่น่าสนใจ เพราะสินค้าที่ผลิตในไทยเรานั้นสามารถที่จะผลิตออกไปขายในประเทศอาเซียนต่างๆได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้นราวกับส่งไปขายในต่างจังหวัด ซึ่งข้อนี้นั้นๆ จะทำให้ไทยเป็นที่ดึงดูดในการลงทุนและแข่งขันกับประเทศจีนรวมไปถึงอินเดียได้
ผลกระทบจากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ของประเทศไทยนั้น
อย่างแรกต้องบอกเลยว่าในการที่เปิดตลาดการค้าเสรีและบริการต่างๆ ย่อมที่จะต้องส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมและผู้ประกอบการในประเทศไทยของเรา โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่มีความสามารถในการแข่งขันที่ค่อนข้างต่ำ ส่งผลให้ผู้ประกอบการ และอุตสาหกรรมทั้งหลายในประเทศของเรานั้นจะต้องมีการปรับตัวมากยิ่งขึ้น
หากพูดถึงข้อเสนอแนะในการเตรียมตัวของประเทศไทยเราสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC แล้วนั้น ประเทศไทยควรที่จะเตรียมพร้อมเพื่อที่จะรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ภาครัฐเองก็ไม่ได้มีการนิ่งนอนใจต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะในส่วนของ กิจการ และ อุตสาหกรรมทั้งหลายที่ยังไม่มีความพร้อมในการแข่งขัน โดนงานรองรับผลกระทบที่ได้มีการดำเนินงานมาแล้วนั้นมีดังต่อไปนี้
- การจัดตั้งกองทุนขึ้นมาเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิต และ ภาคการบริการ ที่ได้รับผลจากการเปิดเสรีทางการค้า ซึ่งได้เกิดขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พุทธศักราช 2550 เพื่อที่จะได้ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ผลิต และผู้ประกอบการสินค้าเกษตรแปรรูป สินค้าอุตสาหกรรม และการบริการในด้านต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า ให้สามารถที่จะปรับตัว หรือปรับเปลี่ยนให้สามารถทำการแข่งขันได้
- รัฐบาลได้สั่งให้มีมาตรการในการที่จะป้องกันผลกระทบ ซึ่งในก่อนหน้านี้ กระทรวงพาณิชย์ได้มีการเสนอจัดทำกฎหมายที่ผ่านสภานิติบัญญัติออกมาเป็น พรบ. มาตรการปกป้องการนำเข้าที่เพิ่มมากขึ้น (Safeguard Measure) ซึ่งหากมีการดำเนินการตาม AEC Blueprint ก่อให้เกิดผลกระทบขึ้นมาก็สามารถที่จะนำกฎหมายข้อนี้มาปฏิบัติใช้ได้
- รัฐบาลได้มีการให้จัดตั้งคณะอนุกรรมการดำเนินการตามแผนงานไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ตามที่ได้มีคำสั่งของ กนศ. ที่ 1/2550 ลงวันที่ 14 มิถุนายน พุทธศักราช 2550 เพื่อที่จะได้มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนงานและเตรียมการรองรับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น ในการดำเนินงานสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ได้ โดยที่มีปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นประธานของการจัดตั้งในครั้งนี้