
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) เพิ่งจะได้ฉลองครบรอบ 50 ปี เมื่อไม่นานมานี้ ถือเป็น ภูมิภาคนี้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ที่เริ่มจากกลุ่มประเทศด้อยพัฒนา จนกลายมาเป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่มีทรงพลังมากที่สุดในโลก เนื่องด้วยความยากจนได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ คุณภาพชีวิตของผู้คนเริ่มดีขึ้นตามลำดับ สำหรับผู้อยู่อาศัยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 625 ล้านคน ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) มีมูลค่าถึง 2.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐและยังคงเติบโตเฉลี่ยปีละ 5% การค้าระดับภูมิภาคเติบโตขึ้นจาก 10 พันล้านดอลลาร์ในปี 2510 เป็น 2.3 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2558
อย่างไรก็ตามการเติบโตอย่างรวดเร็วนี้มีผลที่ไม่พึงประสงค์ตามมาด้วย เช่นความไม่เท่าเทียมกันที่เพิ่มขึ้น ความไม่เท่าเทียม การขาดสารอาหาร ช่องว่างของการพัฒนา กลายเป็นสัญญาณเตือนถึงปัญหาใหญ่ที่อาเซียนต้องเผชิญหน้าในปีต่อไป ความพยายามของอาเซียนร่วมกับสหประชาชาติได้ช่วยให้ภูมิภาคนี้ประสบความสำเร็จในการลดความยากจนลงได้ อัตราความยากจนลดลงจาก 47% ในปี 2533 เป็น 14% ในปี 2558 โรคขาดสารอาหารลดลงจาก 30.4% เป็น 8.9% ในขณะที่อายุขัยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 56 ในปี 1967 เป็น 71 ในปี 2559
ดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า “ความท้าทายมากมายต่อการพัฒนาอาเซียนยังคงอยู่ และมันยังคงมีช่องว่างการพัฒนาระหว่างประเทศอยู่” ในภูมิภาคเอเชียส่วนใหญ่การเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยสำคัญในการบรรเทาความยากจน แต่โดยปกติแล้วจะประสบความสำเร็จน้อยลงในการเพิ่มขนาดของชนชั้นกลาง หรือลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ การศึกษาแสดงให้เห็นว่าช่องว่างดังกล่าวกว้างขึ้นแทนที่จะลดลง กลุ่มผู้ด้อยโอกาสยังคงได้รับประโยชน์จากการพัฒนาในอาเซียนน้อยที่สุด
แม้ว่าจำนวนคนยากจนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ลดลงจาก 138 ล้านคนในปี 2543 เป็น 44 ล้านคนในปี 2558 คาดการณ์ว่าตัวเลขจะลดลงต่ำกว่า 25 ล้านในปี 2573 อย่างไรก็ตามความไม่เท่าเทียมกันของรายได้ที่เพิ่มขึ้นตามมาด้วย ระดับความไม่เท่าเทียมที่สูงขึ้นนี้ ยังคงเป็นแนวโน้มที่น่าเป็นห่วงซึ่งอาจบ่อนทำลายภารกิจการต่อสู้กับความยากจนของประเทศ มันส่งผลให้การเติบโตทางเศรษฐกิจช้าลง
เปรียบเทียบความเหลื่อมล้ำในแต่ละประเทศ

ประเทศไทยเราถือว่ามีความเลื่อมล้ำมากที่สุดเป็น 74 ของโลกโดยมี 58% ของเศรษฐกิจในประเทศที่ถูกควบคุมโดยคนรวยที่สุดเพียง 1% ซึ่งใกล้เคียงกับประเทศมาเลเซีย จากการเก็บข้อมูลทั้ง 157 ประเทศ ส่วนอินโดนีเซียก็ไม่ได้น้อยหน้า โดยมหาเศรษฐีทั้ง 4 คน ที่มีความมั่งคั่งมากกว่าทรัพย์สินของคนจน 100 ล้านคนรวมกันเสียอีก สาเหตุของเรื่องเหล่านี้มาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วที่ได้สร้างผลกระทบอย่างกว้างขวาง ต่อสภาพแวดล้อม และการพัฒนาสังคม เพราะคนทั่วไปยังไม่อาจปรับตัวได้ทัน ในขณะที่คนรวยอยู่แล้วยิ่งรวยมากขึ้นไปอีก
เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านในยุโรปถือว่าเป็นกลุ่มประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำต่ำมาก อ้างอิงจากนโยบายการจัดเก็บภาษีที่ทันสมัย รวมถึงนโยบายและกฎหมายที่ออกมาปกป้องสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะความเท่าเทียมระหว่างชายหญิง
ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank) ประมาณการว่าประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียจะต้องลงทุน 26 ล้านล้านเหรียญสหรัฐจากปี 2559 ถึง 2573 หรือ 1.7 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี หากต้องการรักษาโมเมนตัมการเติบโตเอาไว้ รวมถึงการกำจัดความยากจน ปัจจุบันนี้ 80% ของประชากรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำที่สะอาดได้ แม้ว่าประชาชนกว่า 70% จะมีสุขอนามัยที่ดี แต่ยังคงต้องเผชิญหน้ากับภัยพิบัติที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง
ในขณะที่ทางอ๊อกแฟมออกมาเตือนว่า โลกกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาเหลื่อมล้ำที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งแต่ละประเทศควรวางแผนจัดหานโยบายมาอุดช่องว่างเหล่านี้ ส่วนทางด้านดอน ปรมัตถ์วินัย ก็ยังได้กล่าวทิ้งท้ายเอาไว้อีกว่า “การพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นเรื่องที่ไม่มีวันจบ ซึ่งมันจะต้องใช้ความพยายามอย่างต่อเนื่อง โดยต้องอาศัยความพยายามในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับโลก ถึงจะประสบความสำเร็จได้”