
มีหลายคนที่ยังอาจจะงงกับคำว่า AEC ว่ามันคืออะไรกัน วันนี้เราจะมาบอกกันว่า AEC นั้นคืออะไร และส่งผลกับประเทศไทยอย่างไรบ้าง
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ( Association of South East Asian Nations : ASEAN ) หรือ ประชาคมอาเซียน นั้นเอง สำหรับประชามคมอาเซียน เป็นเป้าหมายการรวมตัวกันของประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งประกอบไปด้วยประเทศสมาชิกคือ ไทย พม่า ลาว เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา และ บรูไน เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและขีดความสามารถการแข่งขันอาเซียนในเวทีระหว่างประเทศ รวมถึงให้อาเวียนมีความแข็งแกร่ง มีภูมิต้านทานที่ดี ในการรับมือปัญหาใหม่ๆระดับโลก ประชาคมอาเซียนนั้น เปรียบเสมอนการเป็นครอบครัวเดียวกันของปรเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งได้มีการถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการขึ้น ในเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2546 พร้อมทั้งมีการลงนามปฏิญญา ให้ประเทศทั้งหมดนั้นได้เป็นประชาคมเดียวกัน และสำเร็จได้ภายใน พ.ศ. 2558 หรือ ค.ศ. 2015 พร้อมกับมีการแบ่งเป็นประชาคมย่อย 3 ประชาคม หรือ 3 สำหลัก นั้นเอง
แบ่งออกเป็น 3 ประชาคมย่อย ดังนี้
- ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน หรือ ASEAN Political and Security Community – APSC
- ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ ASEAN Economics Community – AEC
- ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ASEAN Socio-Cultural Community –ASSC
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC เกิดขึ้นมาจากการพัฒนาสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
หรืออาเซียน เนื่องจากสมาชิกทั้ง 10 ประเทศนั้นมีการเห็นพ้องต้องกันว่า ในปัจจุบันนั้นประเทศสมาชิกอาเซียนมีประชากรรวมกันราว 500 ล้านคน ดังนั้นจึงถือได้ว่าเป็นเศรษฐกิจภูมิภาค ขนาดใหญ่ จึงควรที่จะทำการร่วมมือกัน เพื่อทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนนั้นมีความเข้มแข็งในด้านต่างๆ มากขึ้น เพราะเหตุนี้เอง อาเซียนจึงได้กลายสภาพเป็น เออีซี ในที่สุด โยมีการก่อตั้งเออีซีอย่างเป็นทางการขึ้นนั้นเมื่อ พ.ศ. 2558 ซึ่งได้ทำการเลื่อนขึ้นมาจากเดิมที่มีการตั้งเป้าไว้ที่ พ.ศ. 2563
แอบกระซิบบอกนะ ว่าในอนาคตนั้น เออีซีมีแนวโน้มที่จะขยาย โดยมีการเพิ่มประเทศสมาชิกเป็น อาเซียน + 3 นั้นก็คือเพิ่มประเทศ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ขึ้นมา หรืออาจจะเป็นประเทศ +6 โดยเพิ่ม จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และ อินเดีย นั้นเอง
AEC หรือ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน นั้นเป็นเป้าหมายในการรวมตัวกันของ ประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อเพิ่มอำนาจในการต่อรองกับคู่ค้า และเพื่อทำการเพิ่ม ความสามารถในการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจระดับโลก รวมถึงมีการยกเว้นภาษีสินค้าในบางชนิดให้กับประเทศต่างๆที่เป็นสมาชิก เพื่อเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจ และภูมิภาคให้มีความเจริญมั่งคั่ง มั่นคง และประชาชนนั้นจะได้อยู่ดีกินดีกันมากขึ้น โดยในการประชุมสุดยอดอาเซียน ASEAN Summit ครั้งที่ 8 เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา นั้น ได้มีการเห็นชอบกันในเรื่องของการกำหนดทิศทางให้แก่อาเซียน และได้มีการดำเนินการที่แน่ชัดเพื่อที่จะนำไปสู่เป้าหมายที่ชัดเจน ได้แก่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยการดำเนินงานนั้น คือ จะมีตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน และจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรีสำหรับการตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้นได้แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2558 หรือ ค.ศ. 2015 นั้นเอง
เป้าหมายสำคัญของ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC นั้น มี 4 ด้าน ด้วยกัน คือ
- เป็นตลาด และ ฐานการผลิตร่วมกัน
- สร้างขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ
- สร้างความเท่าเทียมในการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
- การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก
สำหรับกรอบของความร่วมมือนั้น ในที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียน เมื่อวันที่ 21 – 22 กันยายน พ.ศ. 2547 ที่กรุงเทพมหานคร สามารถที่จะทำการหาข้อสรุป ในสาระสำคัญเกี่ยวกับมาตราการร่วมที่จะใช้กับการรวมกลุ่มสินค้าและบริการ ได้แก่ การเปิดเสรีในการค้าสินค้า การค้าบริการต่างๆ การลงทุน การอำนวยความสะดวกต่างๆในด้านของการค้า การลงทุนและการส่งเสริมการค้าและการลงทุน และความร่วมมือในด้านอื่นๆ