เป้าหมายหลักของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ ที่เราได้ยินกันบ่อยครั้งว่า AEC นั้นมี 4 ด้าน ด้วยกัน คือ
1.เป็นตลาดรวมถึงฐานการผลิตร่วมกัน (Single Market and Production Base )
เพื่อสนับสนุนและ เคลื่อนย้ายในด้านของ สินค้าต่างๆ ด้านของการบริการ ด้านของการลงทุน พร้อมทั้งสนับสนุนแรงงานฝีมือต่างๆ และเงินทุน ได้อย่างเสรี สำหรับในส่วนนี้ได้เป็นการดำเนินการตามพันธกรณีที่ได้มีการตกลงกันไว้ และได้มีการดำเนินการกันมาอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว ดังนี้
– ASEAN Free Area ซึ่งได้มีการเริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 เรียกกันโดยย่อว่า AFTA
– ASEAN Framework Agreement on Services สำหรับในส่วนนี้มีการลงนามกันมาตั้งแต่ในปี พุทธศักราช 2538 ซึ่งมีการเปิดเจรจาเสรีกันมาแล้ว 5 รอบ ด้วยกัน ในส่วนนี้จะเน้นไปในด้านของสินค้าและการบริการต่างๆ เรียกกันโดยย่อว่า AFAS
-ASEAN Investment Area เป็นการตกลงกันในเรื่องของการค้าและบริการ ซึ่งมีการลงนามและมีผลไปแล้วตั้งแต่ พุทธศักราช 2541 เป็นต้นมา เรียกกันโดยย่อว่า AIA
2.การสร้างความสามารถในด้านเศรษฐกิจ (HIGH COMPETITIVE ECONOMIC REGION )
สำหรับในส่วนนี้ จะให้ความสำคัญในด้านของนโยบายต่างๆ ที่ช่วยในเรื่องของการรวมกลุ่ม เช่น นโยบายในด้านการแข่งขัน นโยบายที่เกี่ยวกับภาษี นโยบายในด้านของทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายในด้านของการพัฒนาโครงการ รวมไปถึงการสร้างพื้นฐานต่างๆ โดยมีการดำเนินการร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลหลายอย่างร่วมกัน นอกจากนั้นก็ยัง ฝึกอบรมบุคลากรร่วมกันอีกด้วย
3.สร้างความเท่าเทียมเพื่อที่จะพัฒนาเศรษฐกิจ ( Equitable Economic Development )
สนับสนุนการพัฒนา ในด้านของ SMES ซึ่งจะร่วมกันสร้างความสามารถ ผ่านไปทางโครงการหลายๆโครงการ ที่มีอยู่ในการดำเนินการอยู่แล้ว
4.การบูรณาการให้เข้ากันกับสังคมเศรษฐกิจโลก ( Fully Integrated into Global Economy )
ส่วนนี้จะมีการดำเนินการด้านของการปรับประสานนโยบายต่างๆ ของเศรษฐกิจอาเซียนกับด้านนอกของภูมิภาคอาทิ การทำ FTA ฯลฯ
สำหรับในเรื่องของความร่วมมือในส่วนต่างๆนั้น ได้มีการจัดการประชุมของเจ้าหน้าที่อาวุโส ในด้านเศรษฐกิจอาเซียนขึ้นเมื่อวันที่ 21 ถึง 22 กันยายน ในปีพุทธศักราช 2547 ณ กรุงเทพฯซึ่งการประชุมในครั้งนั้นทำให้หาข้อสรุป ในเรื่องสำคัญเกี่ยวกับมาตรการที่ใช้กับการรวมกลุ่มสินค้าและบริการต่างๆได้ เช่นการเปิดเสรีในเรื่องของการค้าสินค้าต่างๆ การบริการ การลงทุน การอำนวยความสะดวกด้านการค้าต่างๆ การส่งเสริมการค้าและการลงทุน รวมไปถึงการร่วมมือในด้านอื่นๆ ดังนี้
1.สำหรับการค้าสินค้านั้น จะให้มีการ เร่งลดภาษีสินค้า ใน Priority Sectors หรือในกลุ่มของสินค้าประเภท เกษตร , ประมง , ผลิตภัณฑ์ไม้ , ผลิตภัณฑ์ยาง , สิ่งทอ , ยานยนต์ , เทคโนโลยีสารสนเทศ , สาขาสุขภาพ เป็น 0 เปอร์เซ็นต์
2.ในด้านของการลงทุนนั้นจะมีการเร่งให้เปิดการลงทุนในรายการสงวน มีการใช้ ASEAN –X formulaได้ ส่งเสริมการผลิตในประชาคมอาเซียนโดยการจัดตั้งเครือข่าย ASEAN free trade zones เพื่อทำการส่งเสริม การซื้อวัตถุดิบรวมไปถึงชิ้นส่วนต่างๆที่ผลิตขึ้นในอาเซียน (OUTSOURCING) ยังมีการดำเนินมาตรการร่วมเพื่อดึงดูด FDI
3.การอำนวยความสะดวกของการค้าและการลงทุน ซึ่งจะประกอบด้วยเรื่องต่างๆ เช่น กฎของแหล่งกำเนิดสินค้า พิธีการศุลกากร มาตรฐาน (standard and conformance) การอำนวยความสะดวกในด้านของการขนส่ง และ การบริการขนส่งระหว่างประเทศในด้านของการขนส่งการช่วยเหลือในเรื่องของการท่องเที่ยวในอาเซียน และการเคลื่อนย้ายของนักธุรกิจ ที่เชี่ยวชาญ ผู้ประกอบวิชาชีพ และแรงงานฝีมือต่างๆ
4.การส่งเสริมการค้าและการลงทุน รวมไปถึงความร่วมมือในด้านต่างๆ เช่น ในด้านของทรัพย์สินทางปัญญา ความร่วมมือด้านของอุตสาหกรรม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พิธีสารการรวมกลุ่มสาขาแต่ละสาขาของอาเซียน ซึ่งมี 11 สาขาด้วยกัน การกำหนดมาตรการร่วม ซึ่งมีการคาบเกี่ยวกันทุกสาขาในส่วนนี้มีอยู่ในกรอบของข้อตกลงร่วมกันด้วย มาตรการเฉพาะในเรื่องของ การรวมกลุ่มของแต่ละสาขา ซึ่งมีการรวม อยู่ในแผนการรวมกลุ่ม (ROAD MAP) มีการผนวกอยู่กับ พิธีสารฯ
เป็นยังไงกันบ้าง สำหรับ เป้าหมายทั้ง 4 ด้านของ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC หวังว่า ข้อมูลในส่วนนี้ที่ผู้เขียนได้ทำการเรียบเรียงมาจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านทุกท่าน และสามารถที่จะทำให้ผู้อ่านนั้นเข้าใจเป้าหมายหลักของ AEC ได้