ในหลายปีที่ผ่านมา การเกษตรของไทยเข้าสู่สภาวะอันน่ากังวล โดยเมื่อดูจากข้อมูลพื้นที่การเกษตร รวมทั้งจำนวนเกษตรกร พบว่าตัวเลขของเกษตรกรรายย่อยลดลง , ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมล้มละลายกันเป็นจำนวนมาก พร้อมกันนั้นยังเกิดการหันเหเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมและบริการ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการพัฒนาประเทศอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะการถดถอยของเกษตรกรรมซึ่งนับวันๆจะยิ่งลางเลือนไป ถ้าแนวโน้มของการพัฒนาการเกษตรของประเทศไทย ยังคงเป็นไปแบบที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบันนี้ อีกทั้งยิ่งถ้าไม่มีการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน อีกไม่กี่สิบปีในอนาคตข้างหน้า เกษตรกรไทยจะลดเหลือต่ำกว่าร้อยละ 10 เนื่องจากเกษตรกรรายเล็กจะค่อยๆเลิกไป เพราะอยู่ไม่ได้ โดยอาจมีการเปลี่ยนไปเป็นแรงงานในโรงงาน หรือ เป็นแรงงานเกษตร เป็นต้น
แนวทางการแก้ไขผลผลิตทางการเกษตรแบบอาเซียน ของประเทศไทย
โดยความตกลงทางด้านการลงทุนอาเซียน คือ ความตกลงอย่างเต็มรูปแบบที่เกิดจากการเสริมสร้างความตกลงของเขตการลงทุนอาเซียน อันเป็นการตกลงเปิดเสรีการลงทุน ซึ่งมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่ปีค.ศ. 1998 ผนวกเข้ากับการตกลงส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนของอาเซียน มีผลบังคับใช้ในมาตั้งแต่ปี 1987 ให้กลายเป็นตกลงอย่างเต็มรูปแบบ เพียงฉบับเดียว โดยมีการลงนาม ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ณ หัวหิน ในระหว่างการประชุม ครั้งที่ 14
การส่งเสริมตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า โดยให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของอาเซียน
นี่คือการแก้ปัญหาการค้าทางด้านเกษตรกรรมของไทย ด้วยการทำเสรีทางการค้า เข้ามาช่วย โดยการส่งออกสินค้าเกษตรของประเทศไทย คิดเป็น 13 % ของการส่งออกทั้งหมดของประเทศ ซึ่งธุรกิจส่งออกอาหารและอุตสาหกรรมการเกษตร จัดเป็นแหล่งรายได้ที่มีความสำคัญมาก โดยคิดเป็น 10 % ของ GDP ไทย นอกจากนี้ประเทศไทยยังเคยมีสโลแกนที่เคยได้ยินกันติดหู นั่นก็ คือ ‘ครัวไทยสู่ครัวโลก’ เป็นหนึ่งในเรื่องที่น่าภาคภูมิใจของประเทศ โดยประเทศไทยอยู่ใน 5 อันดับแรกของโลก ในเรื่องการส่งออกสินค้าอาหาร เพราะฉะนั้น ประเทศไทยจึงมีศักยภาพสมบูรณ์ ในการจะเข้าไปเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารของอาเซียน จากทั้ง 10 ประเทศ
ผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางค้าสินค้าเกษตรของอาเซียน
สำหรับวิธีนี้ คือ ต้องช่วยกันทำให้ประชาคมอาเซียน ดึงดูดนักลงทุนรายใหญ่ รวมทั้งผู้ประกอบการค้าที่มีชื่อเสียงจากต่างประเทศเข้ามามากขึ้น โดยมีกลยุทธ์ปกป้องผลประโยชน์ของภูมิภาคไปด้วย เพื่อป้องกันการลุกล้ำ นอกจากนี้เรายังต้องร่วมกันส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนในภูมิภาคอาเซียน เพื่อพัฒนาไปให้ถึงจุดบรรลุเป้าหมายสูงสุด ในการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมทั้งเป้าหมายในการกำจัดความหิวโหยของสหประชาชาติอย่างยั่งยืน