โครงสร้างของอาเซียนภายใต้กฎบัตรอาเซียน

กฎบัตรอาเซียน

มาทำความรู้จักกับ กฎบัตรอาเซียนกันก่อนดีกว่า

‘กฎบัตรอาเซียน’ คือ รัฐธรรมนูญของอาเซียน ซึ่งจะทำให้อาเซียนกลายสภาพเป็นนิติบุคคล โดยเป็นการวางระเบียบทางกฎหมาย สร้างองค์กรให้กับอาเซียน นอกจากจะเป็นการประมวลค่านิยม , หลักการ รวมทั้งแนวปฏิบัติของอาเซียน นำมารวมกันเป็นข้อกำหนดอย่างเป็นทางการแล้ว ก็ยังมีการปรับปรุงแก้ไขพัฒนาขึ้น พร้อมกำหนดขอบเขตความรับผิด

กฎบัตรอาเซียนชอบขององค์กรในอาเซียน รวมทั้งดูแลทางด้านความสัมพันธ์ ในการดำเนินงานขององค์กรเหล่านี้ ให้มีความผสมผสานไปกับความเปลี่ยนแปลงในโลกยุคปัจจุบัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียน ให้ดำเนินการไปตามวัตถุประสงค์อย่างเป็นระเบียบ รวมทั้งเดินไปสู่เป้าหมายได้อย่างมีอิสรภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรวมตัวกันของประชาคมอาเซียนให้เป็นปึกแผ่นที่สมบูรณ์ ภายในปี ค.ศ. 2015 ดังที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันเอาไว้

อาเซียนรวมใจ ภายใต้กติกา ที่เป็นกลาง

โดยผู้นำอาเซียนทุกคน ได้ลงนามเพื่อแสดงความยินยอมรับกฎบัตรอาเซียนร่วมกัน ในงานประชุม ครั้งที่ 13 วันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ.2007 ณ ประเทศสิงคโปร์ อีกทั้งยังเป็นวาระครบรอบ 40 ของการก่อตั้งอาเซียนอีกด้วย โดยแสดงให้เห็นว่าอาเซียนกำลังแสดงให้ประชาคมโลกได้ประจักษ์ ถึงความก้าวหน้าของอาเซียน ซึ่งกำลังจะเจริญขึ้นพร้อมก้าวเดินไปด้วยกันอย่างมั่นใจ มีความสามัคคี ด้วยสมาชิกจากประเทศทั้ง 10 ประเทศ นอกจากนี้ยังจัดเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์อันแสนล้ำค่าทางประวัติศาสตร์ จะมีการปรับอาเซียนให้เป็นองค์กรนิติบุคคล ภายใต้หน้าที่องค์กรระหว่างรัฐบาล และประเทศสมาชิกได้ตกลง ครบถ้วนสมบูรณ์ทั้ง 10 ประเทศ ในวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008 ทำให้กฎบัตรอาเซียนจึงมีผลทันที วันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 2008 เป็นต้นไป

วัตถุประสงค์ของก่อตั้งกฎบัตรอาเซียน

โดยวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกฎบัตรอาเซียน คือ ต้องการให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพ มีความมั่นคง มีประชาชนเป็นศูนย์กลางของการดำเนินงาน รวมทั้งให้ทุกประเทศมีความเคารพกฎกติกาในการทำงานต่อกันมากขึ้น และ กฎบัตรอาเซียน ยังบัญญัติไว้ว่ายกระดับนิติบุคคลแก่อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาลอีกด้วย

ความสำคัญของกฎบัตรอาเซียน ที่มีต่อประเทศไทย

‘กฎบัตรอาเซียน’ ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติงานของประเทศสมาชิก โดยจะเข้ามาช่วยพัฒนาหลักประกันอันมั่นคง ให้แก่คนไทยว่า ประเทศของเราจะได้รับผลประโยชน์ดังที่ตกลงกันไว้อย่างแน่นอนทุกประการ และการปรับปรุงการดำเนินงาน ตลอดจนเสริมสร้างองค์กรของอาเซียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งยังเน้นการเสริมสร้างความร่วมมือ ทั้ง 3 เสาหลักของประชาคมอาเซียน ทำให้อาเซียนตอบสนองต่อความต้องการ พร้อมมอบผลประโยชน์ให้แก่รัฐสมาชิกได้ดีอีกด้วย และยังเป็นการเสริมภาพลักษณ์ของประเทศสมาชิกในเวทีระหว่างประเทศได้ดียิ่งขึ้น โดยจะเป็นการเอื้อให้ประเทศไทยได้รับการผลักดันและได้รับผลประโยชน์เพิ่มมากขึ้นด้วย